สภาพทั่วไป
สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐาน
1.  ด้านกายภาพ
 
1.1  ที่ตั้งของหมู่บ้านหรือชุมชนหรือตำบล
โดยมีอาณาเขตของเทศบาลตำบลเกษตรวิสัย  ดังนี้
          ด้านเหนือ  ตั้งแต่หลักเขตที่  1  ซึ่งตั้งอยู่ในแนวเส้นตั้งฉากกับทางหลวงสายสุรินทร์ – ร้อยเอ็ด 
ตรงหลัก  กม.  ที่  45  ไปทางทิศตะวันตก  เป็นระยะ  1,400  เมตร
          จากหลักเขตที่  1  เป็นเส้นตรงไปทางทิศตะวันออก  ถึงฟากตะวันออกของทางหลวงสายสุรินทร์ – ร้อยเอ็ด  ตรงหลัก  กม.ที่  45  ซึ่งเป็นหลักเขตที่  2
          ด้านตะวันออก  จากหลักเขตที่  2  เป็นเส้นตรงไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้  ถึงฟากตะวันออกของทางไปตำบลหนองแวง  ตรงที่อยู่ห่างจากฟากเหนือของทางหลวงสายตำบลเกษตรวิสัย – ตำบลหนองแวง   ไปทางทิศเหนือ  700 เมตร  ซึ่งเป็นหลักเขตที่  3
          จากหลักเขตที่  3  เป็นเส้นตรงไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้  ถึงฟากใต้ของทางหลวงไปสุวรรณภูมิ – สุรินทร์  ตรงหลัก  กม.  ที่  48-600  ซึ่งเป็นหลักเขตที่  4
          จากหลักเขตที่  4  เป็นเส้นตั้งฉากกับทางหลวงไปสุวรรณภูมิ – สุรินทร์  ไปทางทิศใต้เป็นระยะ  1,000  เมตร  ซึ่งเป็นหลักเขตที่  5
          ด้านใต้  จากหลักเขตที่  5  เป็นเส้นตั้งฉากกับเส้นหลักเขตที่  4  และหลักเขตที่  5  ไปทางทิศตะวันตก  ถึงฝั่งตะวันออกของลำน้ำกุดกู่  ซึ่งเป็นหลักเขตที่  6
          ด้านตะวันตก จากหลักเขตที่ 6  เป็นเส้นตรงไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ จนบรรจบกับหลักเขตที่ 1
 
ประวัติความเป็นมา
            อำเภอเกษตรวิสัย เป็นอำเภอชั้น 2 ของจังหวัดร้อยเอ็ด  มีอาณาเขตกว้างขวาง  และเก่าแก่มานาน  มีประวัติศาสตร์ความเป็นมาพอมีหลักฐานจากคำเล่าสืบต่อกันมาว่า  อำเภอเกษตรวิสัย   เดิมชื่อ  “เมืองเกษ”  มีพระศรีเกษตราธิไชย  (เหง้า)  เป็นอุปราชผู้ขอตั้งเมืองขึ้น  ในสมัยรัชกาลที่  5  มีพระบรมราชโองการให้ตั้งเมืองใหม่ ที่บ้านดอนเสาโฮง  (ปัจจุบันอยู่ในเขตอำเภอพนมไพร)  แต่พระศรีเกษตราธิไชย  (เหง้า)  ผู้รับ      ราชโองการเห็นว่าควรย้ายจากบ้านดอนเสาโฮง  มาตั้งที่บ้านกู่กระโดน  ซึ่งสมัยนั้นอยู่ในเขตเมืองสุวรรณภูมิ  เพราะเห็นว่าเป็นทำเลที่เหมาะสมมีความอุดมสมบูรณ์ดี  และได้รับพระบรมราชานุญาตให้ขนานนามว่า  “เมืองเกษ”  เพราะดินแดนแห่งนี้มีดอกเกษเป็นจำนวนมาก  รวมทั้งมีความอุดมสมบูรณ์ด้วยพืชพันธุ์ธัญญาหาร  ถึงกับมีคำกล่าวขานสืบต่อกันมาเสมอว่า “ข้อยอยู่ก้ำเมืองเกษ ดินดำน้ำชุ่ม ปลากุ่มบ้อนคือแข่แก่งหาง  ปลานางบ้อนคือขางฟ้าลั่น จักจั่นฮ้องคือฆ้องลั่นยาม” นั่นคือ  เมืองเกษแห่งทุ่งกุลาร้องไห้
                 ต่อมาปีพุทธศักราช  2448 เมืองสุวรรณภูมิได้ยกฐานะเป็นอำเภอ  เมืองเกษตรวิสัย  ซึ่งชาวบ้านนิยมเรียกสั้นๆ ว่า “เมืองเกษ” จึงแยกการปกครองออกมาและยกฐานะเป็นอำเภอเรียกว่า “อำเภอหนองแวง”  ต่อมาในสมัยรัชกาลที่  6  (พ.ศ.  2489)  ทางราชการเห็นว่าชื่ออำเภอไม่พ้องกับชื่อตำนานที่ตั้ง   จึงได้เปลี่ยนชื่อจากอำเภอหนองแวงเป็น   “อำเภอเกษตรวิสัย”   ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน
                เทศบาลตำบลเกษตรวิสัย  อำเภอเกษตรวิสัย  จังหวัดร้อยเอ็ด  เป็นหน่วยงานราชการบริหารส่วนท้องถิ่น  ได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะจากสุขาภิบาลตำบลเกษตรวิสัย  ตามพระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงสุขาภิบาลเป็นเทศบาล  พ.ศ.  2542  ประกาศราชกิจจานุเบกษา  เล่มที่  116  ตอน  9  ก  ลงวันที่  24  กุมภาพันธ์  2542  เมื่อวันที่  25 พฤษภาคม  2542  ซึ่งอยู่ในการกำกับดูแลของนายอำเภอ 
ผู้ว่าราชการจังหวัด  และกระทรวงมหาดไทย  โดยมีนายกเทศมนตรีตำบลเกษตรวิสัยเป็นผู้บริหารสูงสุด  มีภารกิจอำนาจหน้าที่ภายใต้ระเบียบ  กฎหมาย  ข้อบังคับ  และมติ  ครม.  ที่เกี่ยวข้อง 
 
1.2  ลักษณะภูมิประเทศ
เทศบาลตำบลเกษตรวิสัย  ตั้งอยู่ในเขตอำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด  เนื้อที่โดยประมาณ 8.22 ตารางกิโลเมตร หรือ ประมาณ 5,187.5 ไร่  พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบสูง  สูงกว่าระดับน้ำทะเลปานกลางประมาณ 130-160 เมตร   โดยชุมชนเกษตรวิสัย  ตั้งอยู่ในทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของอำเภอเกษตรวิสัย ประกอบด้วย  11 หมู่บ้าน  13  ชุมชน   ซึ่งแต่ละหมู่บ้านมีระยะทางห่างกันใช้เวลาเดินทาง ประมาณ  5  นาที 
1.3  ลักษณะภูมิอากาศ
ภูมิอากาศโดยทั่วไป จังหวัดร้อยเอ็ดมีอากาศร้อนจัด แห้งแล้งในฤดูร้อน และมีอากาศหนาวใน
ฤดูหนาว 
สภาพอากาศ ของจังหวัดร้อยเอ็ด แบ่งได้เป็น 3 ฤดู คือ
  1. ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่กลางเดือนกุมภาพันธ์ ถึงต้นเดือนพฤษภาคม
  2. ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคม ถึงต้นเดือนตุลาคม
  3. ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่กลางเดือนตุลาคม ถึงต้นเดือนกุมภาพันธ์
1.4  ลักษณะของดิน
          ลักษณะของดินในพื้นที่เป็นดินร่วนปนทราย  พื้นที่เหมาะแก่การเพาะปลูกข้าว
1.5  ลักษณะของแหล่งน้ำ
          มีแหล่งน้ำธรรมชาติ  ได้แก่  ลำกุดกู่  อ่างเก็บน้ำชลประทาน ม.9
1.6  ลักษณะของไม้และป่าไม้
          ป่าไม้จะเป็นป่าเบญจพรรณ  ป่าไม้ส่วนใหญ่  ไม้ยาง  ไม้ประดู่  ไม้ยูคาลิปตัส  ไม้พยุง  ฯลฯ
2.  ด้านการเมือง/การปกครอง
2.1  เขตการปกครอง
ประกอบด้วย  11 หมู่บ้าน  13  ชุมชน   ซึ่งแต่ละหมู่บ้านมีระยะทางห่างกันใช้เวลาเดินทาง ประมาณ  5  นาที  ดังนี้
 
ลำดับที่ ชื่อชุมชน หมู่ที่  
 
1 บ้านเกษตรวิสัย หมู่ที่  1  
2 วัดธาตุ  2/1 หมู่ที่  2  
3 ป่าเม็ก  2/2 หมู่ที่  2  
4 หนองแวง 3/1 หมู่ที่  3  
5 หนองแวง 3/2 หมู่ที่  3  
6 บ้านป่ายาง หมู่ที่  4  
7 คุ้มใต้ หมู่ที่  8  
8 หนองแวง หมู่ที่  9  
9 ป่าบาก หมู่ที่  10  
10 คุ้มโรงฆ่าสัตว์เก่า หมู่ที่  13  
11 คุ้มน้อย หมู่ที่  14  
12 บ้านป่ายาง หมู่ที่  15  
13 คุ้มกลาง หมูที่  16  
 
  1. การเลือกตั้ง  สมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่น
  • การเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นใช้เขตเทศบาลเป็นเขตเลือกตั้ง
  • การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่น แบ่งเป็น 2 เขตการเลือกตั้ง  ได้แก่
เขตการเลือกตั้งที่  1  ประกอบด้วย  ม.1,  ม.2,  ม.4,  ม.8  และ ม.15
เขตการเลือกตั้งที่  2  ประกอบด้วย  ม.3,  ม.9,  ม.10,  ม.13,  ม.14  และ  ม.16
 
3.  ประชากร
3.1  ข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนประชากร
          ประชากรทั้งสิ้น  11,241  คน  แยกเป็น  ชาย  5,464  คน  หญิง  5,777  คน  (ข้อมูล ณ  เดือนพฤษภาคม  2562)
ลำดับที่ ชื่อชุมชน หมู่ที่ ประชากร รวม (คน)
ชาย (คน) หญิง (คน)
1 บ้านเกษตรวิสัย หมู่ที่  1 579 570 1,149
2 วัดธาตุ  2/1 หมู่ที่  2 387 359 746
3 ป่าเม็ก  2/2 หมู่ที่  2 361 437 798
4 หนองแวง 3/1 หมู่ที่  3 364 410 774
5 หนองแวง 3/2 หมู่ที่  3 397 398 795
6 บ้านป่ายาง หมู่ที่  4 316 315 631
7 คุ้มใต้ หมู่ที่  8 669 758 1,427
8 หนองแวง หมู่ที่  9 458 476 934
9 ป่าบาก หมู่ที่  10 281 307 588
10 คุ้มโรงฆ่าสัตว์ หมู่ที่  13 248 282 530
11 คุ้มน้อย หมู่ที่  14 439 481 920
12 บ้านป่ายาง หมู่ที่  15 518 523 1,041
13 คุ้มกลาง หมูที่  16 440 459 899
 
 
 
 
 
 
 
3.2  ช่วงอายุและจำนวนประชากร
 
หมวดอายุ จำนวนประชากร
ชาย หญิง รวม
รวมทั้งหมด 5,464 5,777 11,241
0 - 4 ปี 253 144 397
5 - 9 ปี 328 262 590
10-14 ปี 351 302 653
15 - 19 ปี 333 305 638
20 - 24 ปี 375 406 781
25 – 29 ปี 409 432 841
30 – 34 ปี 414 403 817
35 – 39 ปี 392 374 766
40 – 44 ปี 411 453 864
45 – 49 ปี 478 539 1,017
50 – 54 ปี 453 495 948
55 – 59 ปี 386 455 841
60 – 64 ปี 304 395 699
65 – 69 ปี 212 263 475
70 ปีขึ้นไป 365 549 914
 
กลุ่มวัยเด็ก                 อายุ   0-14 ปี              จำนวน     1,640   คน
กลุ่มวัยทำงาน             อายุ  15 – 59 ปี          จำนวน     7,513   คน
กลุ่มวัยสูงอายุ              อายุ   60  ปี  ขึ้นไป       จำนวน     2,088   คน
 
ที่มา: งานทะเบียนราษฎร   สำนักปลัดเทศบาล  (ข้อมูล  ณ  วันที่  28  พฤษภาคม  2562 )
 
ลำดับที่ ประชากร หญิง (คน) ชาย (คน) รวม ช่วงอายุ
1 จำนวนประชากรเยาวชน 650 1,182 1,832 อายุต่ำกว่า 18 ปี
2 จำนวนประชากร 4,010 2,758 6,768 อายุ 18-60 ปี
3 จำนวนประชากรผู้สูงอายุ 1,117 1,524 2,641 อายุมากกว่า 60 ขึ้นไป
  รวมทั้งสิ้น 5,777 5,464 11,241  
 
 
 
 
4.  สภาพทางสังคม
4.1  การศึกษา
             -  ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก/อนุบาล                       จำนวน        6     แห่ง
                    -  โรงเรียนประถมศึกษา                      จำนวน        4     แห่ง
                    -  โรงเรียนมัธยมศึกษา                        จำนวน        1      แห่ง
 
4.2  สาธารณสุข
-  สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ                         จำนวน           1         แห่ง
-  ร้านขายยาแผนปัจจุบัน                              จำนวน          10         แห่ง
-  คลินิก                                                   จำนวน            6         แห่ง
-  สถานพยาบาล                                         จำนวน            1         แห่ง
-  อัตราการใช้ส้วม                                       ร้อยละ         100    
-  อาสาสมัครสาธารณสุข  (อสม.)                     จำนวน         236         คน
 
4.3  อาชญากรรม
                       -
4.4  ยาเสพติด
 
          ปัญหายาเสพติด  การแพร่ระบาดของนักเรียนนักศึกษาในหมู่บ้านที่เพิ่มมากขึ้น 
  1.  การสังคมสงเคราะห์
 
  1. ผู้สูงอายุ               1,546         คน
  2. ผู้พิการ                 616         คน
5.  ระบบบริการพื้นฐาน
5.1  การคมนาคมขนส่ง
 
หมู่ที่ จำนวน
สายทางรวม
(สาย)
ถนนลาดยาง
แอสฟัลส์ติก
(สาย)
ถนนคอนกรีต
เสริมเหล็ก
(สาย)
ถนนลูกรัง
(สาย)
ทางลำลอง
(สาย)
1 11 4 5 - 2
2 17 3 8 2 4
3 14 3 7 3 1
4 8 1 5 1 1
8 8 4 3 1 -
9 15 3 7 4 1
10 12 3 4 1 4
13 5 1 2 1 1
14 9 3 4 - 2
15 12 3 5 2 2
16 7 4 3 - -
รวม 118 32 53 15 18
 
 
5.2  การไฟฟ้า
  • ไฟฟ้าที่ผลิตโดยการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคคิดเป็นร้อยละ  100    ของพื้นที่
  • จำนวนครัวเรือนที่มีไฟฟ้าใช้                           4,719     ครัวเรือน
  • จำนวนครัวเรือนที่ไม่มีไฟฟ้าใช้                            -        ครัวเรือน
  • จำนวนไฟฟ้าสาธารณะ                                     530    ครัวเรือน
  • จำนวนไฟฟ้าสาธารณะที่ต้องการเพิ่ม                    248    จุด
  • จำนวนระบบไฟฟ้าแบบโซล่าเซลล์                          -      จุด
5.3  การประปา
          -     จำนวนครัวเรือนที่ใช้น้ำประปา              2,123   ครัวเรือน  คิดเป็นร้อยละ 45  ครัวเรือน
  • จำนวนครัวเรือนที่ไม่ใช้น้ำประปา            2,595   ครัวเรือน
หน่วยงานที่ให้บริการด้านการประปาในพื้นที่  คือ  การประปาส่วนภูมิภาคสุวรรณภูมิ
 
5.4  โทรศัพท์
          ปัจจุบันทุกหมู่บ้านใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่เป็นส่วนใหญ่
  • จำนวนโทรศัพท์สาธารณะ                          5         แห่ง            
  • จำนวนบ้านชุมสายโทรศัพท์                        1         แห่ง
  • จำนวนอาคารชุมสายโทรศัพท์เคลื่อนที่           2         แห่ง 
 
5.5  ไปรษณีย์หรือการสื่อสารหรือการขนส่ง  และวัสดุ  ครุภัณฑ์
-  จำนวนที่ทำการไปรษณีย์                             1         แห่ง 
 
6.  ระบบเศรษฐกิจ
6.1  การเกษตร  ราษฎรส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ  80  ประกอบอาชีพทำการเกษตรกรรม  ได้แก่      ทำนา  ทำสวน  ที่เหลือประกอบอาชีพส่วนตัว  ค้าขายและรับจ้างทั่วไป
6.2  การประมง  มีการเลี้ยงปลานิลในบ่อดิน 
6.3  การปศุสัตว์  เช่น  การเลี้ยงโค  กระบือ  และเลี้ยงสุกร  ฯลฯ
6.4  การบริการ 
-  มีร้านบริการเสริมสวย  จำนวน    23    แห่ง
-  มีโรงแรมในพื้นที่        จำนวน      1   แห่ง
-  มีรีสอร์ทในพื้นที่        จำนวน      4   แห่ง
6.5  การท่องเที่ยว  คือ  กู่กระโดน  หมู่ที่  2
6.6  อุตสาหกรรม  ไม่มีอุตสาหกรรมในพื้นที่
6.7  การพาณิชย์และกลุ่มอาชีพ 
-  กลุ่มออมทรัพย์                   จำนวน           11      กลุ่ม
-  กลุ่มทำดอกไม้จันทน์             จำนวน           1        กลุ่ม
-  กลุ่มทำน้ำยาล้างจาน            จำนวน           1        กลุ่ม
-  กลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์ข้าว        จำนวน           1        กลุ่ม
-  กลุ่มทอผ้า                        จำนวน           1        กลุ่ม
-  กลุ่มจักรสาน                     จำนวน           1        กลุ่ม
  1.  แรงงาน  ราษฎรส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ  80  ประกอบอาชีพทำการเกษตรกรรม  ได้แก่     
ทำนา  ทำสวน  ที่เหลือประกอบอาชีพส่วนตัว  รับราชการ  ค้าขายและรับจ้างทั่วไป
7.  ศาสนา  ประเพณี  วัฒนธรรม
7.1  การนับถือศาสนา  ประชาชนนับถือศาสนาพุทธ  โดยมีข้อมูลศาสนสถาน  ดังนี้
วัด  มีจำนวน  8  วัด  ได้แก่
  1. วัดธาตุ
  2. วัดสระเกษ
  3. วัดกลาง
  4. วัดป่าสันติธรรม
  5. วัดบ้านป่ายาง
  6. วัดบ้านหนองแวง
  7. วัดป่าชลประทานรังสรรค์
  8. วัดป่าบากศรีเกษภูมิไชย
  9. วัดป่าเทพนิมิตร
7.2  ประเพณีและงานประจำปี
                    -  ประเพณีสงกรานต์                เดือน    เมษายน
-  ประเพณีแห่เทียนเข้าพรรษา     เดือน    กรกฎาคม
-  ประเพณีลอยกระทง              เดือน    พฤศจิกายน
          7.3  ภูมิปัญญาท้องถิ่น  ภาษาถิ่น
          ภูมิปัญญาท้องถิ่น  คือ  การทำผลิตภัณฑ์ดอกไม้จันทน์  การจักรสาน  การทอผ้า 
          ภาษาถิ่น  ใช้ภาษาอีสาน
  1. สินค้าพื้นเมืองและของที่ระลึก
8.  ทรัพยากรธรรมชาติ
8.1  น้ำ
-  จำนวนห้วย / หนอง / คลอง / บึง         6                   แห่ง
-  จำนวนคลองชลประทาน                    1                  แห่ง
-  จำนวนอ่างเก็บน้ำและฝายน้ำล้น          1                  แห่ง
-  จำนวนบ่อบาดาลสาธารณะ                2                  แห่ง
-  จำนวนบ่อบาดาลเอกชน                   869               แห่ง
-  จำนวนน้ำดื่มสาธารณะ                     3                  แห่ง
8.2  ป่าไม้  ป่าไม้จะเป็นป่าเบญจพรรณ  ป่าไม้ส่วนใหญ่  ไม้ยาง  ไม้ประดู่  ไม้ยูคาลิปตัส  ไม้พยุง  ฯลฯ
8.3  ภูเขา  ไม่มีภูเขาในเขตพื้นที่เทศบาลตำบลเกษตรวิสัย
 
************************
 
สล็อตเว็บตรง